วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผลไม้ไทยส่งออกสู่จีน..


จีนเป็นตลาดส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทย หลังจากการเปิดเสรีการค้าผักและผลไม้ตามพิกัดอัตราศุลกากรหมวดที่07-08 ระหว่างไทย-จีนตามกรอบเขตการค้าเสรีChina-ASEAN และการลดภาษีนำเข้าผลไม้ตามข้อตกลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นมา
 
ปัจจุบัน รัฐบาลจีนอนุญาตให้นำเข้าผลไม้ไทยได้จำนวน23 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย กล้วยไข่ ลิ้นจี่ มะพร้าว มะละกอ มะเฟือง มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ เงาะ สับปะรด ละมุด เสาวรส น้อยหน่า มะขาม ขนุน สละ ลองกอง ส้มเขียวหวาน ส้ม ส้มโอ ตามลำดับ 

            ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 การนำเข้าผลไม้ไทยมีปริมาณลดน้อยลงแต่มูลค่ากลับเพิ่มสูงขึ้น กล่าวคือ ในช่วง เดือนมกราคม-มิถุนายน 2553 การนำเข้าผลไม้ไทยผ่านมณฑลกวางตุ้งมีปริมาณ 232,667 ตัน คิดเป็นมูลค่า 255.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2552 มีปริมาณการนำเข้า 236,845 ตัน คิดเป็นมูลค่า 219.00 ล้านเหรียญสหรัฐปริมาณลดลง 2 % แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 16% ซึ่ง ผลไม้ไทยในตลาดจีนยังมีโอกาสสูง เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเพิ่มมากขึ้นและสามารถขยายตลาดไป ตามเมืองต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกรอบความตกลงทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องการค้าของไทยและจีน ประกอบด้วย
1.อาเซียนและจีนมีการลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน - จีน ( Framework Agreement on ASEAN - China Comprehensive Economic Cooperation ) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 เป็น แนวทางสำหรับการเจรจาตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน ซึ่งครอบคลุมด้วยการค้าสินค้า การบริการ การลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่าง ๆ
2.ภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน - จีน ด้านสินค้าได้กำหนดให้ลดภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2548 และเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2553 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน และภายในปี 2558 สำหรับอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ) โดยกำหนดอัตราภาษีปกติลดลงปีสุดท้ายมี 2 อัตรา คือ 0 เปอร์เซ็นต์ และ 5 เปอร์เซ็นต์ และได้กำหนดให้เริ่มลดภาษีสินค้าบางรายการลงทันที (Early Harvest : EH) ของสินค้าเกษตรทุกรายการ ในตอนที่ 01 - 08 ได้แก่ สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ใช้บริโภค ปลาและสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ต้นไม้ และพืชที่มีชีวิต พืชผักใช้บริโภค และผลไม้ โดยให้ลดภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2547 ให้เป็น 0 ภายในปี 2549 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน ส่วนอาเซียนใหม่ภายในปี 2553
3.ตามกรอบของ EH ไทยและจีนได้ลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีสินค้าผักและผลไม้ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2546 ให้ลดภาษีนำเข้าของ 2 ประเทศ ให้ลงเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 นี้ เป็นต้นไป

จุดแข็ง
1. ผลไม้ไทยมีความหลากหลาย ทั้งด้านสีสัน คุณภาพ รสชาติ และกลิ่นหอม
2. ผลไม้ไทยแต่ละชนิดมีผลดีต่อสุขภาพ
3. มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด
จุดอ่อน
1. เก็บรักษาไว้ได้เพียงระยะสั้น
2. ผลไม้ไทยเกิดการเน่าเสียง่าย
โอกาส
1. ผลไม้ไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีน จึงทำให้การส่งออกผลไม้ไทยเพิ่มขึ้น  
2. สามารถขยายโอกาสทางการค้าและเจาะตลาดผลไม้ไทยในจีนเพิ่มขึ้น
อุปสรรค
1. มีการขนส่งทางเครื่องบิน จึงทำให้มีต้นทุนสูง
2. ผลไม้มีต้นทุนสูง จึงทำให้ไม่ได้กำไรเท่าที่ควร
3. การเจาะตลาดค่อนข้างยาก เนื่องจากมีต้นทุนสูงและมีคู่แข่งค่อนข้างมาก

 ที่มา :  http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=2128&s=tblplant



วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศต่างกับการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร




ความหมาย ของการค้าระหว่างประเทศ
            การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่งสินค้าเกษตรไปขายให้ญี่ปุ่นและสั่งเครื่องมือเครื่องจักรจาก ญี่ปุ่นเข้าประเทศ

ความหมาย ของการตลาด ระหว่างประเทศ
             การตลาดระหว่างประเทศ หมายถึง การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูป ของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ใน ตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ

ความแตก ต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ
            การค้าระหว่างประเทศจะเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการระหว่างประเทศต่างๆ ที่ได้มีการทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน โดยได้มีการนำเข้าและส่งออกในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละประเทศนั้นจะมีการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน แต่การตลาดระหว่างประเทศจะเป็นการเสนอขายสินค้า และบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดน โดยมีเป้าหมายเพื่อหาตลาดใหม่ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ




การเมืองการปกครองของจีน


การเมืองการปกครอง
            ในระบบการปกครองของจีน พรรคคอมมิวนิสต์ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายทุกด้าน ให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติ โดยจีนมีนโยบายที่สำคัญ ดังนี้
1)     เน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดประเทศ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และกำหนดเป้าหมายให้ GDP โตขึ้นอีก 4 เท่าตัว และทำให้จีนสร้างความกินดีอยู่ดี เสี่ยวคางแก่คนจีนในระดับเดียวกับประเทศที่กำลังพัฒนาในระดับกลาง ภายในปี 2563 ในขณะเดียวกันก็ต้องแก้ไขความเลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างภาคตะวันออก กับภาคตะวันตก มิฉะนั้นอาจนำไปสู่ความแตกแยกของชนชาติที่รุนแรง
2)     เน้นการปฏิรูปการเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อลดกระแสกดดันการเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองของกลุ่มนายทุนใหม่และนักวิชาการ ซึ่งประเมินแล้วไม่สามารถเลือกได้ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า นายเจียง เจ๋อ หมิน อดีตประธานาธิบดีจีน จึงได้เสนอหลักการ 3 ตัวแทนขึ้นมา และบรรจุลงในธรรมนูญของพรรค เปิดกว้างให้คนเหล่านี้ได้มีส่วนร่วมในพรรคและการบริหารประเทศได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้จีนได้เริ่มปล่อยให้การปกครองระดับท้องถิ่น ระดับตำบล และเมือง(อำเภอ) มีการเลือกตั้งโดยอิสระแล้วตั้งแต่ปี 2538
            หลักการ 3 ตัวแทน กำหนดไว้ดังนี้
พรรคคอมมิวนิสต์เป็นตัวแทน 3 ด้าน ได้แก่
1)     ด้านการผลิต (ดูแลการพัฒนาทางเศรษฐกิจ)
2)     ด้านวัฒนธรรม (ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีของจีน และนำวัฒนธรรมอื่นที่ดีมาประยุกต์ใช้)
3)     เปิดให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นตัวแทนของประชาชนทุกชนชั้น เปิดให้กลุ่มนายทุนและนักธุรกิจที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่พรรคกำหนดเข้าเป็นสมาชิกพรรค และมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้น