วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

เสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้ทั้ง 2 ธุรกิจ


9กลยุทธ์เพื่อการตลาดระหว่างประเทศ (Fuji+MK)

1.กลยุทธ์ราคา
            ควรใช้กลยุทธ์ราคาอย่างสร้างสรรค์เช่น ควรลดราคาสำหรับสมาชิก หรือการลดราคาในช่วงสิ้นเดือนที่ลูกค้าเพิ่งได้รับเงินเดือน และการลดราคาให้ผู้มีกำลังซื้อน้อยเช่นข้าราชการ แม้ในภาวะวิกฤตเช่นนี้การจะใช้กลยุทธ์การลดราคาควรมีเป้าหมายด้วย 

2.กลยุทธ์การสร้างคุณค่าที่แตกต่าง
            เน้นขายสินค้าหรือให้บริการที่มากคุณค่า และจ่ายในราคาที่ประหยัดกว่าแต่หาซื้อที่ไหนไม่ได้ และให้คุณค่ากับผู้ซื้อและสังคมส่วนร่วมเป็นอย่างมาก 

3.กลยุทธ์สร้างความผูกพันในตราสินค้า 
      สร้างความผูกผันในคุณภาพ ความคุ้มค่า และทำให้ลูกค้าเกิดความผูกพันในทุกอย่างของสินค้าและบริการซึ่งเน้นแค่ความผูกพันในความรู้สึกแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งกลยุทธ์สร้างความผูกพันแบบนี้ต้องมีวิธีการแสดงความขอบคุณลูกค้า

4.กลยุทธ์การวางแผนเลือกใช้สื่อ
            มุ่งเน้นการสื่อสารที่ส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์โดยตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เน้นการสร้างความไว้วางใจ โดยต้องมีการคิดวางแผนเลือกใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ หรือใช้กลยุทธ์การเลือกใช้สื่อที่ต้องมุ่งสร้าง social network 

5.กลยุทธ์การวิจัยทัศนคติและพฤติกรรมของลูกค้าที่มีต่อตราสินค้าของตน
            ทำให้ลูกค้ารับรู้ว่ากิจการมีความสนใจถึงทุกความคิดและความรู้สึกของลูกค้าอยู่เสมอ และที่สำคัญปัจจุบันนี้ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะสนใจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เราก็ควรเตรียมปรับกลยุทธ์การตลาดให้มุ่งเน้นเรื่อง green marketing

6.กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (CRM)
            สร้างสินค้าและบริการที่ตรงต่อความต้องการแต่ละรายบุคคล มุ่งเน้นนำเสนอสินค้าบริการที่สร้างให้เกิดการชื่นชอบ และเกิดความผูกพันอย่างลึกซึ้งในตราสินค้า เน้นเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและต้องทำอย่างจริงใจ จริงจัง ต่อเนื่องและตลอดเวลา 

7.กลยุทธ์การวิจัยพฤติกรรมการซื้อ

            วิจัยถึงเหตุผลในการซื้อมากกว่าการวิจัยทัศนคติ ความรู้สึก การรับรู้เท่านั้น เพราะในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้การ
รับรู้ว่าลูกค้ามีความรู้สึกอย่างไรเพื่อมาทำกลยุทธ์การตลาด

8.กลยุทธ์สร้างความโดดเด่นในการบริการอย่างเฉพาะเจาะจง
 
            ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเรื่องคุณค่า ความคุ้มค่าในการใช้จ่าย และให้ความสำคัญในการให้บริการเสริมที่ตามลูกค้าแนะนำ

9.กลยุทธ์สร้างความสะดวกสบาย ง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนในการซื้อสินค้าหรือในการเข้ารับบริการ  
     กลยุทธ์ที่ 9 นี้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมาก ขณะที่ลูกค้าต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจซื้อมากขึ้น กิจการควรนำเสนอรูปแบบการบริการที่ช่วยให้การตัดสินใจของลูกค้ากระทำได้ง่ายขึ้น โดยมุ่งเน้นการสร้างสินค้าและบริการที่อำนวยความสะดวก เน้นความสบายให้ลูกค้ามากขึ้น

ที่มา : http://www.classifiedthai.com/content.php?article=5827




ความรู้สึกที่ได้เดินทางไปชิม "ขนมอินเดีย"

             
               ในการเดินทางไปชิมขนมอินเดียครั้งนี้  จุดหมายปลายทางเราอยู่ที่ตลาดพาหุรัด การเดินทางก็สะดวกรวดเร็วเพียงรถต่อเดียวก็ถึงที่หมายได้ และเมื่อเราเดินทางไปถึงสถานที่จริง ก็จะมีร้านขนมอินเดียอยู่หลายร้าน แต่หันไปสะดุดตากับร้านแห่งนี้ เนื่องจากมีตู้โชว์ที่นำขนมอินเดียที่สีสัน สดใสดูแล้วสะดุดตา ออกมาวางโชว์กันเรียงเป็นแถว ซึ่งเมื่อเราลองไปถามราคากันก็ถือว่าราคาไม่แพง เพราะหนึ่งชิ้นก็ตกอยู่ที่ราคาประมาณ 10-15 บาท และก็มีการบริการที่เป็นกันเอง..


            เมื่อเห็นอย่างนั้นไม่รอช้า รีบสั่งมากินอยู่หลายชิ้น เพราะอดใจไม่ไหวกับสีสันที่โดดเด่น มองแล้วก็อยากจะลองกินเลยทีเดียว..ซึ่งเมื่อได้ลองกินแล้ว โดยรวมๆ ขนมอินเดียนั้นจะเน้นหวานเป็นหลัก อาจจะเป็นเพราะส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของนม และน้ำตาล แต่ก็ถือว่าประทับใจค่ะ ถ้าเพื่อนๆคนไหนชอบกินหวาน ก็อยากจะให้ไปลองชิมขนมอินเดียดูนะค่ะ..รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนจ๊ะ!!   



วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผลไม้ไทยส่งออกสู่จีน..


จีนเป็นตลาดส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทย หลังจากการเปิดเสรีการค้าผักและผลไม้ตามพิกัดอัตราศุลกากรหมวดที่07-08 ระหว่างไทย-จีนตามกรอบเขตการค้าเสรีChina-ASEAN และการลดภาษีนำเข้าผลไม้ตามข้อตกลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นมา
 
ปัจจุบัน รัฐบาลจีนอนุญาตให้นำเข้าผลไม้ไทยได้จำนวน23 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย กล้วยไข่ ลิ้นจี่ มะพร้าว มะละกอ มะเฟือง มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ เงาะ สับปะรด ละมุด เสาวรส น้อยหน่า มะขาม ขนุน สละ ลองกอง ส้มเขียวหวาน ส้ม ส้มโอ ตามลำดับ 

            ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 การนำเข้าผลไม้ไทยมีปริมาณลดน้อยลงแต่มูลค่ากลับเพิ่มสูงขึ้น กล่าวคือ ในช่วง เดือนมกราคม-มิถุนายน 2553 การนำเข้าผลไม้ไทยผ่านมณฑลกวางตุ้งมีปริมาณ 232,667 ตัน คิดเป็นมูลค่า 255.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2552 มีปริมาณการนำเข้า 236,845 ตัน คิดเป็นมูลค่า 219.00 ล้านเหรียญสหรัฐปริมาณลดลง 2 % แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 16% ซึ่ง ผลไม้ไทยในตลาดจีนยังมีโอกาสสูง เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเพิ่มมากขึ้นและสามารถขยายตลาดไป ตามเมืองต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกรอบความตกลงทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องการค้าของไทยและจีน ประกอบด้วย
1.อาเซียนและจีนมีการลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน - จีน ( Framework Agreement on ASEAN - China Comprehensive Economic Cooperation ) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 เป็น แนวทางสำหรับการเจรจาตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน ซึ่งครอบคลุมด้วยการค้าสินค้า การบริการ การลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่าง ๆ
2.ภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน - จีน ด้านสินค้าได้กำหนดให้ลดภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2548 และเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2553 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน และภายในปี 2558 สำหรับอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ) โดยกำหนดอัตราภาษีปกติลดลงปีสุดท้ายมี 2 อัตรา คือ 0 เปอร์เซ็นต์ และ 5 เปอร์เซ็นต์ และได้กำหนดให้เริ่มลดภาษีสินค้าบางรายการลงทันที (Early Harvest : EH) ของสินค้าเกษตรทุกรายการ ในตอนที่ 01 - 08 ได้แก่ สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ใช้บริโภค ปลาและสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ต้นไม้ และพืชที่มีชีวิต พืชผักใช้บริโภค และผลไม้ โดยให้ลดภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2547 ให้เป็น 0 ภายในปี 2549 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน ส่วนอาเซียนใหม่ภายในปี 2553
3.ตามกรอบของ EH ไทยและจีนได้ลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีสินค้าผักและผลไม้ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2546 ให้ลดภาษีนำเข้าของ 2 ประเทศ ให้ลงเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 นี้ เป็นต้นไป

จุดแข็ง
1. ผลไม้ไทยมีความหลากหลาย ทั้งด้านสีสัน คุณภาพ รสชาติ และกลิ่นหอม
2. ผลไม้ไทยแต่ละชนิดมีผลดีต่อสุขภาพ
3. มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด
จุดอ่อน
1. เก็บรักษาไว้ได้เพียงระยะสั้น
2. ผลไม้ไทยเกิดการเน่าเสียง่าย
โอกาส
1. ผลไม้ไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีน จึงทำให้การส่งออกผลไม้ไทยเพิ่มขึ้น  
2. สามารถขยายโอกาสทางการค้าและเจาะตลาดผลไม้ไทยในจีนเพิ่มขึ้น
อุปสรรค
1. มีการขนส่งทางเครื่องบิน จึงทำให้มีต้นทุนสูง
2. ผลไม้มีต้นทุนสูง จึงทำให้ไม่ได้กำไรเท่าที่ควร
3. การเจาะตลาดค่อนข้างยาก เนื่องจากมีต้นทุนสูงและมีคู่แข่งค่อนข้างมาก

 ที่มา :  http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=2128&s=tblplant



วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศต่างกับการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร




ความหมาย ของการค้าระหว่างประเทศ
            การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่งสินค้าเกษตรไปขายให้ญี่ปุ่นและสั่งเครื่องมือเครื่องจักรจาก ญี่ปุ่นเข้าประเทศ

ความหมาย ของการตลาด ระหว่างประเทศ
             การตลาดระหว่างประเทศ หมายถึง การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูป ของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ใน ตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ

ความแตก ต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ
            การค้าระหว่างประเทศจะเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการระหว่างประเทศต่างๆ ที่ได้มีการทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน โดยได้มีการนำเข้าและส่งออกในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละประเทศนั้นจะมีการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน แต่การตลาดระหว่างประเทศจะเป็นการเสนอขายสินค้า และบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดน โดยมีเป้าหมายเพื่อหาตลาดใหม่ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ